สถานที่ติดต่อ

​​เลขที่ 999 หมู่ที่ 6 ต.วังเหนือ

อ.วังเหนือ จ.ลำปาง 52140

เวลาทำการ

เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์

08.00 น.-16.30 น.

หยุด เสาร์ - อาทิตย์

ติดต่อเพิ่มเติม

โทร.0-5427-9006 โทรสาร.0-5427-9339 
อีเมล :  saraban_05520701@dla.go.th

 
  • ข้อความช่องทางการสอบถามข้อมูล QA
  • กระดานสนทนา
image-show
เจ้าพ่อพญาวัง Image 1
Downloads

452581332_3793271177611435_8794025813826806242_n.png

 

เจ้าพ่อพญาวัง เจ้าเมืองพระองค์แรกและพระองค์เดียวแห่งเมืองวัง

 

ศาลเจ้าพ่อพญาวัง ตั้งอยู่ที่เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ต.วังเหนือ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

446033325_1507564079972023_3083694101488878234_n.jpg

     

              เจ้าพ่อพญาวัง เป็นเจ้าเมืองวัง ปกครองเมืองวัง ระหว่างปี พ.ศ.๑๗๐๐- ๑๘๐๐ และเจ้าพ่อพญาวังน่าจะเป็นพระยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ และในยุคนี้มีการค้าขายและผลิตสินค้า มีความเจริญมากที่สุด ประเภทถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา ผางประทีป     ที่มาจากเตาเผาสันกำแพง   เชียงใหม่   เตาเผาพาน  เชียงราย  หรือเตาเผา 

ประวัติเจ้าพ่อพญาวัง

"ลุเมื่อ พ.ศ.๑๗๐๒ พระเจ้าไชยศิริแห่งนครไชยปราการ ได้เสียเมืองให้แก่ขุนเลียขวัญฟ้ามหาราช แห่งอาณาจักรเมาพระองค์จึงได้ อพยพพลเมือง ไปตั้งอยู่ที่เมืองอู่ทอง มื้อนั้นก็ถึงกาลที่นครไชยปราการต้องถึงคราววิบัติ นี่เอง พญาวังข้าราชบริพาร แห่งพระเจ้าไชยศิริมิได้อพยพติดตามไปด้วย หากแต่ได้อพยพผู้คนส่วนหนึ่ง ซึ่งรักถิ่นฐานเดิมหลบหนีจาก ไชยปราการ มาตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ พญาวังได้สร้างคุ้มและวัดวาอารามขึ้นในอาณาบริเวณแห่งนี้ อันมีชื่อเรียกในกาลปัจจุบันว่า ดงหอเจ้าพ่อพญาวัง อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวอำเภอวังเหนือและอำเภอใกล้เคียงตราบจนปัจจุบัน"

 

ประวัติอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

                   อำเภอวังเหนือ ตามปรากฏในธรรมพุทธจาริก ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเดิมเรียกว่าเมืองหวัง ต่อมาผู้คนพูดกันผิดเพี้ยนเป็น เมืองวัง และเรียกว่า วังเหนือ จนถึงปัจจุบัน สำหรับการตั้งถิ่นฐาน แบ่งได้เป็น ๓ ยุคคือ

              ยุคที่ ๑ สมัยเจ้าพ่อพญาวังปกครองเมืองวัง ประมาณ ช่วง พ.ศ. ๑๗๐๐-๑๘๐๐ จากการศึกษาประวัติพระองค์ท่านจากเอกสารแผนภูมิปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวังเหนือ และเอกสารประวัติอำเภอวังเหนือ ซึ่งแต่งโดยพระมหาสุทัศน์ หลักแน่น (ปัจจุบันคือ พระเทพรัตนมุนี รจภ.๖) วัลลพ เสียงกึก ได้เขียนประวัติเจ้าพ่อพญาวังตรงกันว่า “ ได้มีพระประยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ เจ้าเมืองไชยปราการ ขณะหนีภัยสงคราม หลังเสียเมืองให้แก่พระเจ้าขวานฟ้าแห่งอาณาจักรเมา ได้นำข้าราชบริพารหลีกออกจากขบวนมาตั้งถิ่นฐานและครอบครองเมือวังและได้สถาปนาตนเองเป็น “พญาวัง “

             ยุคที่ ๒ หลังจากสิ้นเจ้าพ่อพญาวัง พ.ศ. ๑๙๐๐-๒๓๐๐ เป็นยุคที่ไม่มีเจ้าผู้ครองเมือง เป็นเพียงหัวเมืองเล็กๆ โดยมีฐานะเป็นพันนาคือเป็นตำบลที่จะต้องส่งส่วย ขึ้นอยู่กับแว่นแคว้นพะเยา ซึ่งเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุด เป็นยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับต่างเมือง สินค้าที่พบคือเครื่องปั้นถ้วยชาม เครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่สวยงามและหายากในปัจจุบัน

              ยุคที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๐๐ - ปัจจุบัน เป็นยุคที่เริ่มมีการปกครองระบบเทศาภิบาล วังเหนือเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแจ้ห่ม ได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมื่อขึ้น พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อได้พัฒนาตัวเองจนเจริญมากขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐  จากการที่ เจ้าพ่อพญาวัง เป็นผู้ครองเมืองวังเพียงพระองค์เดียว จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาวังขึ้นบริเวณคุ้มวังเดิม ในเขตเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ตำบลวังเหนือ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจของคนวังเหนือสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ทุกปีจะมีประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพญาวัง เดือน ๙  ( เหนือ ) แรม ๑๓  ค่ำ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนวังเหนือมีความรัก ความผูกพันในถิ่นเกิด ทุกปีต้องกลับต้องกลับมาภูมิลำเนา

              เมืองวัง มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดเล็กมีการค้นพบเครื่องมือหินบริเวณสันเขาปันน้ำและภูเขาทั่วไปในอำเภอวังเหนือ โดยเฉพาะพบรอย พระพุทธบาทบนภูเขาบ้านสบลืน ตำบลร่องเคาะมีการพบขวานหิน ขวานสำริดอำเภอวังเหนือ ในประวัติศาสตร์เดิมมีชื่อเรียกว่า “ดงเวียง” หรือ “ เวียงวัง ” (เมืองวัง) ตามหนังสือประวัติศาสตร์อำเภอวังเหนือที่แต่งโดยพระมหาสุทัศน์ หลักแน่น และนายวัลลพ เสียงกึก สันนิษฐานว่าเมืองวังเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๕๐๐-๕๙๙ เป็นต้นมา โดยคาดว่าน่าจะเป็นเมืองขึ้นหรือส่วนหนึ่งของเมืองอื่นในอดีต เช่น เมืองเชียงแสน หรือ เมืองนครเขลางค์ เมืองวังมีช่วงที่เจริญสูงสุด จะเป็นในช่วงยุคสมัยที่เจ้าพ่อพญาวัง ปกครองเมืองวังระหว่างปี พ.ศ.๑๗๐๐-๑๘๐๐ ซึ่งประวัติเจ้าพ่อพญาวังน่าจะเป็นพระประยูรญาติพระองค์หนึ่งของพระเจ้าไชยสิริ และในยุคนี้มีการค้าขายและผลิตสินค้า ประเภทถ้วยชามเครื่องปั้นดินเผา ผางประทีป ที่มาจากเตาเผาสันกำแพง เชียงใหม่ เตาเผาพาน เชียงราย หรือเตาเผา วังเหนือ เวียงกาหลง และมีการค้นพบชิ้นถ้วยที่ผลิตในยุคราชวงค์หมิงประเทศจีน ต่อมาประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๑๗ เกิดภาวะสงครามขึ้นระหว่างพม่า กับล้านนา ทำให้ผู้คนต่างหนีภัยไปในทิศทางต่างๆ จนกลายเป็นสภาพเมืองร้าง  จนถึงปีประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๓ เมืองวังกลับคืนสู่สภาพความเป็นชุมชนเมือง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากพม่าสิ้นอำนาจการปกครองในสมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองเชียงใหม่สามารถขับไล่พม่าได้สำเร็จ   ใน พ.ศ.๒๔๓๕ มีการแบ่งการปกครอง เป็นระบบส่วนภูมิภาค และระบบเทศาภิบาลเมืองวังเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จึงได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอมีการเปิดที่ว่ากิ่งอำเภอครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๘๑ และปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับการยกฐานขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

http://www3.cdd.go.th/wangnuea/generality3.htm

http://www.culture.go.th/culturemap/index.php?action=listdistrict&pid=52&did=52140&pnum=2

445377348_834852821857749_4643831759659164498_n.jpg

“เจ้าพ่อพญาวัง” อ.วังเหนือ จ.ลำปาง สถานที่กราบสักการะบูชา ที่คอยคุ้มครอง ปกป้องชาวอำเภอวังเหนือ มาโดยตลอดโดยคนส่วนใหญ่มักมากราบของพร และแก้บนจากท่านที่นี่ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเชื้อเจ้าฝ่ายเหนือของพระเจ้าไชยสิริ เจ้าเมืองไชยปราการภายหลังพระเจ้าไชยสิริได้ถูกเจ้าเสือขวานฟ้าแห่งราชอาณาจักรเมานำกองทัพบุกเข้าโจมตีเมืองไชยปราการและยึดเมืองได้ พระเจ้าไชยสิริได้แตกพ่ายหนีการไล่ล่าโจมตีของเจ้าเสือขวานฟ้าโดยพาเอาข้าราชบริพารเสนาอำมาตย์และไพร่พลลงมาสู่ทางใต้

 

โดยมาปักหลักตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณสุวรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง) ส่วนพญาวังซึ่งเป็นเชื้อสายเดียวกันกับพระเจ้าไชยสิริได้แยกตัวพร้อมด้วยข้าราชบริพารส่วนหนึ่งมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดงเวียง(ที่ตั้งศาลในปัจจุบัน) ได้สร้างคุ้มตลอดจนวัดวาอาราม และทำการปกครองเมืองวังตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในราว พ.ศ.1702 ได้มีกองโจรขนาดใหญ่ได้รวมตัวกันที่บ้านทุ่งกว้าง (น่าจะเป็นบ้านกวางในปัจจุบัน) ออกปล้นสะดมชาวบ้านและได้บุกมาถึงบริเวณ ณ ที่แห่งนี้ พญาวังได้นำไพร่พลออกต่อสู้กับกองโจรเต็มกำลังความสามารถแต่ไม่อาจต้านทานกองโจรซึ่งมีกำลังมากกว่าได้ พญาวังถูกล้อมจับตัวได้หัวหน้ากองโจรสั่งให้ประหารชีวิตเพราะกลัวว่าจะเป็นภัยในภายหลังแต่พญาวังเป็นนักรบผู้กล้าอยู่ยงคงกระพันชาตรีพวกโจรทำอย่างไรก็ไม่อาจที่จะประหารชีวิตพญาวังได้ เพราะศาสตราวุธใด ๆ ก็ไม่อาจจะระคายผิวหนังได้พวกกองโจรต้องทำการล้างอาถรรพ์จึงทำการประหารชีวิตพญาวังลงได้ ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้

 

“เจ้าพ่อพญาวัง” เป็นเจ้าพ่อที่ปกปักรักษาชาวอำเภอวังเหนือให้อยู่ดีมีสุข ในทุกๆปีประชาชนที่ศรัทธาในเจ้าพ่อพญาวังทั้งในจังหวัดลำปางและจังหวัดใกล้เคียง นิยมที่จะมาเลี้ยงแก้บน รดน้ำ ดำหัว ขอพร ในวันสงกรานต์ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่ของชาวล้านนา โดยบางปีก็จัดพิธีบวงสรวงสักการะยิ่งใหญ่  ซึ่งศาลเจ้าพ่อพญาวังตั้งอยู่ ณ หมู่บ้านใหม่ ตำบลวังเหนือ จ.ลำปาง ส่วนมากคนที่นิยมไปสักการะ หรือขอให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่ การงาน การเงิน คู่ครอง ก็มักจะประสบผลสำเร็จเสมอ จึงเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่คนในอำเภอวังเหนือให้การเคารพอย่างมาก สำหรับการแก้บน ก็มักจะมีหัวหมู น้ำส้มน้ำแดง รำถวาย ของหวานของคาว ที่นิยมนำไปแก้บน ประชาชนที่ผ่านมาวังเหนือแล้วอยากบน ขอหวย คนรัก หรืออื่นๆ ก็มักจะแวะเวียนมาสัการะท่านอย่างไม่ขาดสาย.

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

https://www.lampangpost.com/2023/06/17/38091/

 

ข่าวสารความเคลื่อนไหว

ข้อมูลข่าวสารอัพเดทของหน่วยงานของเรา

อ่านข่าวทั้งหมด

เมนูหลัก

แผนที่ตั้ง

ข่าวกิจกรรม

อ่านข่าวทั้งหมด
Text Here

ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

ข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ

ผู้บริหาร

KC-2566-0001-removebg-preview.png

นางสาวชุมพูวดี ตาเมืองมูล
ผู้อำนวยการกองคลัง รักษาราชการแทน
ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่
นายกเทศมนตรีตำบลบ้านใหม่


เบอร์โทร.089-5606775

 

งานบริการของศูนย์บริการร่วม/ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
(ONE STOP SERVICE : OSS)

สายด่วน

สายด่วนโทร.
โทร. 0-5433-2022
โทร. 0-5427-9342

1561.png

09-06-2565.png

 

19-06-2567.jpg

ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง

ระบบการเงิน กองคลังเทศบาลตำบลบ้านใหม่

  1. แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
  2. สรุปผล-การจัดหาพัสดุรายเดือน
  3. รายงานการเงิน ทต.บ้านใหม่
  4. รายงานการกำกับฯ
  5. ประกาศจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
next
prev
Text Here

ระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ

หน่าวยงานภายใน

Link อปท.

ข้อมูลข่าวสาร

Text Here

QA ถาม-ตอบข้อสงสัย

หัวข้อในหมวดหมู่นี้: Q&A ถามตอบข้อสงสัย - กระดานสนทนา ทต.บ้านใหม่ จ.ลำปาง

18 พฤษภาคม 2568

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านใหม่ ​​เลขที่ 999 หมู่ที่ 6 ต.วังเหนือ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง 52140 โทร.0-5427-9006 โทรสาร.0-5427-9339. Q&A ถามตอบข้อสงสัย - กระดานสนทนา ทต.บ้านใหม่ จ.ลำปาง

พื้นที่/ตร.กม.

3.75

หมู่บ้าน

3

ชุมชน

8

ประชากร/คน

2582

Text Here

จำนวนผู้เข้าชม

1973996
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวม วัน
620
2846
620
1954316
53956
86310
1973996

Your IP: 3.139.87.133
2025-05-18 05:30